วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2556

1. ชื่อหัวข้อ การออกแบบภาพประกอบหนังสือการหัดอ่านอักษรภาษาอังกฤษสำหรับปฐมวัย

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา  
            ภาพประกอบหนังสือการหัดอ่านอักษรภาษาอังกฤษสำหรับปฐมวัยนั้น ส่วนใหญ่จะใช้ภาพประกอบที่มีความเข้าใจได้ยาก และมีสีที่หลากหลายซึ่งทำให้เด็กในช่วงปฐมวัยนี้เกิดความสับสน
            การเขียนภาพประกอบเพื่อที่จะให้เด็กปฐมวัย นั้นมีความเข้าใจมากขึ้นในการศึกษา ซึ่งเด็กปฐมวัยนั้น ควรเป็นภาพที่ง่ายๆชัดเจน เพื่อให้เด็กได้มีความสนุกสนานเข้าใจ ภาพประกอบและมีจินตนาการ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้  ไปกับการอ่าน ซึ่งทำให้ภาพประกอบมีคุณค่าน่ามองมากขึ้น
จากการสำรวจการอ่านหนังสือของเด็กเล็ก (ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี) และการอ่านนอกเวลาเรียน ปี พ.. 2551พบว่า เด็กเล็กมีอัตราการอ่านหนังสือร้อยละ 36.0 เด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงมีอัตราการอ่านหนังสือใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 36.7 และร้อยละ 35.2ตามลำดับ) แต่อัตราการอ่านหนังสือของเด็กเล็กมีความแตกต่างกันระหว่างเขตการปกครองและภาค โดยในเขตเทศบาลมีอัตราการอ่านหนังสือสูงกว่านอกเขตเทศบาล เด็กเล็กในกรุงเทพมหานครมีอัตราการอ่านหนังสือสูงสุด (ร้อยละ 45.3) ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเด็กเล็กมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุด (ร้อยละ 31.3)       
เนื่องจากในปัจจุบันเด็กไทยส่วนใหญ่ไม่ชื่นชอบในการเรียนอ่านวิชาภาษาอังกฤษอย่างที่สถิติได้สรุปไว้ดังกล่าว จึงต้องมีสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจเหมาะสมกับวัยขึ้นมาเพื่อให้การเรียนรู้ไม่น่าเบื่อ ซึ่งภาพประกอบเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเสริมการเรียนรู้ให้มีความน่าสนใจมากขึ้นและช่วยให้มีความเข้าใจในการศึกษาดียิ่งขึ้น
ความสำคัญของภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก ภาพเป็นอุปกรณ์การสอนที่มีประโยชน์มากอย่างหนึ่ง ภาพมีลักษณะเป็นสากล ไม่ว่าผู้เรียนจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ ก็สามารถจะตีความหมายได้
เด็กวัย 5 –6 ขวบ เด็กวัยนี้เริ่มสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวเขาเป็นต้นว่า บ้านของเด็กและสมาชิกในครอบครัว เมื่อเด็กวาดภาพ ส่วนใหญ่จะเป็นภาพตัวของเขาเอง พ่อแม่ สัตว์เลี้ยงของเขา ภาพที่เด็กวัยนี้เขียนผู้ใหญ่จะดูไม่ออก รายละเอียดและความประณีตไม่มี ไม่รู้จักจัดภาพ เขียนไปตามพอใจ สีที่นิยม คือ แดง น้ำเงิน เหลือง
จากการศึกษาถึงพัฒนาการทางจิตวิทยาเราสามารถนำไปใช้สร้างภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กได้ดังนี้           
ภาพสำหรับเด็กควรสร้างง่ายๆ ชัดเจน เด็กยิ่งเล็กเท่าใดภาพก็ควรจะง่ายขึ้นเท่านั้น สีกับรายละเอียดต่างๆ ก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามวัยและตามพัฒนาการทางร่างกายของเด็กในการวิจัยพบว่าเด็กชอบภาพสัตว์มากกว่าภาพคน  
การให้สี พยายามให้สีที่ดึงดูดความสนใจของเด็กให้มากภาพที่ใช้สำหรับเด็กเล็กไม่ควรเป็นสีผสม ควรเป็นแม่สี ต่อเมื่อเด็กโตขึ้นภาพจึงควรใช้สีผสมและต้องให้คล้ายคลึงกับธรรมชาติมากที่สุด เด็กเล็กไม่ควรใช้สีมากเกินไปเพราะจะทำให้ภาพไม่เด่นชัด
สีและภาพประกอบ สีเป็นส่วนหนึ่งของภาพประกอบหนังสือ เพราะภาพสีสามารถดึงดูดความสนใจได้มากกว่าภาพขาวดำ และช่วยให้เห็นความเป็นจริงมากกว่าภาพขาวดำ
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อศึกษาหลักการออกแบบภาพประกอบ
1.2.2 เพื่อศึกษาหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์
1.2.3 เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะภาพที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
1.2.4 เพื่อออกแบบหนังสือการหัดอ่านอักษรภาษาอังกฤษสำหรับปฐมวัย
1.3 ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษารูปแบบของข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะภาพที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย เพื่อที่จะนำมาออกแบบภาพประกอบให้กับหนังสือการหัดอ่านอักษรภาษาอังกฤษ ABC ในหลักสูตรปฐมวัย
1.4 วิธีการดำเนินงาน
          1. เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่1 หลักการออกแบบภาพประกอบ
มีแนวทางการศึกษาดังนี้
                        1.1 ศึกษาเอกสาร หนังสือวิชาการ สื่อออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่อง การการออกแบบภาพประกอบ
                        1.2 สรุป

            2. เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่2 เรื่องการออกแบบสิ่งพิมพ์
มีแนวทางการศึกษาดังนี้
                        2.1 ศึกษาเอกสาร หนังสือวิชาการ สื่อออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องการออกแบบสิ่งพิมพ์
                        2.2 สรุป
3. เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่3 ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะภาพที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย                           3.1 ศึกษาข้อมูลลักษณะภาพที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
            3.2 สรุป
            4. เพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่4 เพื่อออกแบบ หนังสือการหัดอ่านอักษรภาษาอังกฤษสำหรับปฐมวัย
                        4.1 ทำการออกแบบภาพประกอบสำหรับหนังสือการหัดอ่านอักษรภาษาอังกฤษ สำหรับปฐมวัย
                        4.2 ออกแบบและอภิปรายผล
 1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.5.1 ได้ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบลักษณะภาพที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
1.5.2 ได้ศึกษาและเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของภาพประกอบและสีของหนังสือสำหรับเด็กปฐมวัย
เพื่อนำมาออกแบบภาพประกอบ
1.5.3 ได้ศึกษาและเข้าใจในการออกแบบภาพประกอบสำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อนำมาออกแบบภาพประกอบในการอ่านอักษรภาษาอังกฤษสำหรับปฐมวัย
1.6 รายชื่อเอกสารอ้างอิง
          1.ผู้เขียน ป้าเวนดี้*ภาพประกอบ สุดธิดา เปลี่ยนสายสืบ **หนังสือ ABC reading**
*โรงพิมพ์ บริษัท พรพิชชา พับลิชชิ่ง จำกัด* สำนักพิมพ์ สอนคิดส์
            2.รศ.ดร. พันทิยา น้อยจันทร์ สถาบันพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา **หนังสือหัดอ่านภาษาอังกฤษ ABC สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัยกระทรวงศึกษาธิการ** *โรงพิมพ์ เอ็ดดูเคชั่นแนลเทคโนโลยี(เอ็ด-เทค)*
            3.ดร.พชร ธรรมคุณเสริม*ประเดิม ดำรงเจริญ* **หนังสือหัดอ่าน ABC ฉบับเสริมพัฒนาการด้านภาษา** *โรงพิมพ์ ยูโรปา เพรส บริษัท จำกัด

วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556